วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2554

ดัชนีมวลกาย (BMI : Body mass index)

ดัชนีมวลกาย (BMI : Body mass index)
       ค่าดัชนีมวลกาย เป็นดัชนีที่อาศัยความสัมพันธ์ระหว่าง ส่วนสูง(เมตร) และน้ำหนักตัว(กิโลกรัม) มาเป็นตัวดัชนีช่วยบ่งชี้สภาวะความอ้วนผอมของร่างกายแต่ละคน ( ซึ่งดีกว่าการอาศัยค่าหนักตัวเพียงอย่างเดียวเพราะว่าคนที่มีน้ำหนักตัวเท่ากัน  เช่นที่ 70 กิโลกรัม สำหรับผู้ที่สูงประมาณ 175-180 ซม. ถือว่าปกติหุ่นกำลังดี  แต่กับผู้ที่มีความสูงประมาณ 150-160 ซม. คุณจะดูว่าอ้วน)  ตัวดัชนีมวลกาย จะช่วยบ่งบอกให้เราทราบว่า  ขณะนี้เรามีสภาพที่อ้วนมากเกินไป (ตัวเลขดัชนีสูงกว่าค่ามาตรฐาน ยิ่งสูงมากก็ยิ่งอ้วนมาก)  ผอมเกินไป   (ค่าดัชนีจะต่ำกว่าค่ามาตรฐานยิ่งต่ำมากแสดงว่ายิ่งผอมมาก ) หรืออยู่ในเกณฑืปกติ ความสมดุลย์ที่ดีระหว่างการทานอาหารและการออกกำลังกาย และการสำรวจสภาพร่างกายของเราเป็นระยะ ๆ ว่าจะอ้วนหรือมีน้ำหนักตัวมากเกินไป  อาจเป็นบ่อเกิดที่จะมีโรคต่าง ๆ ตามมาได้มากมายเช่น ไขมันในเลือดสูง เส้นเลือดหัวใจตีบตัน ความดันโลหิตสูง อัมพฤต อัมพาต โรคกระดูกและไขข้อ โรคเบาหวาน จะเห็นว่าความอ้วนก่อให้เกิดโรคต่างๆตามมาได้อีกมากมายที่จะบันทอนสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของเรา เราอาจเดินทางไปไหนมาไหนไม่สดวก มีโรคคอยก่อกวน มียาที่ต้องคอยทานอยู่ตลอดเวลา
       ค่าดัชนีมวลกาย  คำนวณจากน้ำหนักและส่วนสูง เพื่อใช้เปรียบเทียบความสมดุลระหว่างน้ำหนักตัว ต่อความสูงของมนุษย์ ซึ่งคิดค้นโดย Adolphe Quetelet ชาวเบลเยียม ค่าดัชนีมวลกายหาได้โดยนำน้ำหนักตัวหารด้วยกำลังสองของส่วนสูงตนเอง
       โดยปกติ ให้ใช้น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม และส่วนสูงเป็นเมตร จะได้หน่วยเป็น กก./ม.2
                        BMI = weight(kg) / hight 2(m)
การประเมินค่าดัชนีมวลกายเมื่อได้คำนวณค่าดัชนีมวลกายแล้ว ลองนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ดังนี้
ผอมเกินไป : น้อยกว่า 18.5 (<18.5)
เหมาะสม    : มากกว่าหรือเท่ากับ 18.5 แต่น้อยกว่า 25 (≥18.5 แต่ <25)
น้ำหนักเกิน : มากกว่าหรือเท่ากับ  25   แต่น้อยกว่า 30 (≥  25  แต่ <30)
อ้วน: มากกว่าหรือเท่ากับ 30 แต่น้อยกว่า 40 (≥30 แต่ <40)
อันตรายมาก: มากกว่าหรือเท่ากับ 40 (≥40)

1.  ค่าปกตินี้ได้จากการวิจัยเชิงพรรณา หรือ เชิงบรรยาย โดยศึกษาหาข้อมูลในคนป่วย โรคต่างๆ ว่ามี
     ดัชนีมวลกายอยู่ระหว่างค่าใด แล้วนำมาหาว่าดัชนีมวลกายในช่วงเท่าใดที่จะไม่พบว่า มีคนป่วยจะ
     ถือเป็นค่าเหมาะสม หรือ ค่าปกติ
2.  สำหรับชาวเอเชีย พบว่าประเทศอากาศร้อน ความอ้วนจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้น ดัชนีมวล
     กายจะน้อยกว่าค่าข้างต้นซึ่งเป็นค่าของประเทศเมืองหนาว จะต้องมีไขมันเพื่อปกป้องร่างกายจาก
     ความหนาว ในชาวเอเชีย จึงถือค่าประมาณ 18-23 เป็นค่าที่เหมาะสมสำหรับชาวเมืองร้อน
3.  การประเมินค่าดัชนีมวลกายนั้น จะต้องคำนึงถึงตัวแปรต่าง ๆ ด้วย ดังเช่นมวลกล้ามเนื้อ มวลไขมัน
     เพราะฉะนั้นดัชนีมวลร่างกายข้างต้นจะไม่สามารถนำไปใช้ได้กับผู้ที่มีมวลกล้ามเนื้อมาก เช่น นัก
     กีฬา  นักเพาะกาย ที่อาจจะมีน้ำหนักมากเกิน 100 กิโลกรัมแต่ไม่จัดอยู่ในขั้นอ้วนหรืออันตรายมาก

    
        ความสำคัญของการรู้ค่าดัชนีมวลร่างกาย เพื่อประเมินหาส่วนไขมันในร่างกาย ซึ่งค่าดังกล่าวนิยมใช้ในการคำนวณอย่าง แพร่หลาย เนื่องจากคำนวณง่าย และสามารถใช้ได้กับทุกเพศ ทุกวัย และทุกเชื้อชาติ  ประโยชน์  ใช้เพื่อดูอัตราการเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ถ้าค่าที่คำนวนได้ มากหรือน้อยเกินไป  จะได้ควบคุมอาหารและการออกกำลังกายเพื่อรักษาระดับน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ   เราเพียงควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์แล้วโรคต่างๆก็จะห่างไกลจากเรา สำหรับคนอ้วนที่ยังไม่มีอาการของโรคข้างต้น ถือเป็นโอกาสดีที่ท่านยังมีเวลาแก้ตัว รีบควบคุมสภาพของเราให้อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือใกล้กับปกติให้มากที่สุดก่อนที่จะมีการแสดงอาการของโรคเกิดขึ้นการตามใจปากของเราแล้วทำให้มีค่าดัชนีมวลกายสูงๆ เราจะต้องมาเสียโอกาส และต้องคอยจ่ายยาเพื่อรักษาอาการของโรคที่ตามมา ค่ายาที่เราต้องนำเข้าจากต่างประเทศปีหนึ่งๆเป็นมูลค่ามหาศาล  เราสามารถช่วยตัวเรา ครอบครัวและประเทศชาติในการลดการนำเข้าโดยเพียงเราสนใจดูแลสุขภาพเราเอง ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากมายเหมือนการรักษา ยังได้สุขภาพที่สมบูรณ์ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีในบั้นปลายอีกด้วย   สำหรับท่านที่มีเกณฑ์ดัชนีมวลกายต่ำกว่ามาตรฐาน คงต้องมาลองสำรวจหาความผิดปกติของระบบอาหารและการทานอาหารของเรา เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เราเบื่ออาหาร ทานไม่ได้ หรือว่าเราเป็นโรคกลัวอาหาร หรือ เบื่ออาหารหรือไม่ การปล่อยสภาพร่างกายให้ผอมมากและนานเกินไปก็มีผลร้ายต่อร่างกายเราเช่นกัน รีบหาสาเหตุและแก้ไขที่ต้นเหตุ แล้วสภาพร่างกายที่ดีก๊จะกลับมาเป็นของคุณครับ